![]() |
Digital Photography Audio & Video Computer Accessories Software Applications | Miscellaneous | Home |
.... |
On Grid Solar
Rooftop - 10 kW |
|
1.
ระบบ
On Grid Solar
Rooftop![]() เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจาก Solar Panels ที่ติดตั้งบนหลังคาซึ่งได้ไฟฟ้ากระแสตรงออกมาผ่าน Solar Inverter แปลงไฟฟ้าเป็นกระแสสลับและต่อเชื่อมเข้ากับระบบของการไฟฟ้าตลอดเวลา ระบบ On Grid มีจุดเด่นคือจะมีแหล่งจ่ายไฟฟ้า 2 ทางคือจาก Solar Panels และจากระบบของการไฟฟ้า ดังนั้นในเวลากลางวันก็จะใช้ไฟฟ้าจาก Solar Panels ได้ หากผลิตได้เองไม่เพียงพอก็จะดึงไฟฟ้าจากระบบเข้ามาเสริม หากผลิตได้มากกว่าการใช้ก็จะส่งไฟฟ้าขายคืนเข้าระบบได้ ส่วนในเวลากลางคืนก็จะเป็นการใช้ไฟฟ้าจากระบบทั้งหมด ระบบ On Grid Solar Rooftop ที่นำมาเสนอในบทความนี้ เป็นแบบที่ขออนุญาตการไฟฟ้าแล้วตามระเบียบและตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าโซล่าร์ภาคประชาชนรายละไม่เกิน 10 kW ต่อมิเตอร์ เรียบร้อยแล้ว โดยบ้านที่ติดตั้งเป็นของผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งที่ได้ให้ข้อมูลต่างๆร่วมกับเจ้าหน้าที่และวิศวกรจากบริษัทที่ทำการติดตั้ง ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ![]() |
||
2.
การคำนวณความคุ้มทุนของการติดตั้ง
On Grid Solar Rooftop
ขนาด 10 kW![]() 2.1 พลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้ : Solar Rooftop ขนาด 10 kW จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 12,000 - 13,000 หน่วย หรือ kilowatt-hour (kWh) ตัวเลขนี้ได้มาจากการคำนวณดังนี้ พลังงานไฟฟ้าต่อปี = kW x จำนวนชั่วโมงใน 1 ปี x Performance Ratio x Plant Factor = 9.72 x 0.78 x 8760 x 0.19 = 12,670 kWh/ปี ![]() หมายเหตุ : ความสูญเสียใน Inverter 2 - 3 %, Plant Factor คือการที่ Solar Panels ผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาที่มีแสงแดดหรือมีแสงสว่างมากพอคิดเฉลี่ยทั้งปี ตัวเลข 19% มาจากระบบอื่นๆที่ได้ติดตั้งไปแล้วในประเทศไทย, Preformance Ratio ของระบบ Solar rooftop ประมาณ 0.75 - 0.80 ![]() 2.2 จำนวนเงินที่จะประหยัดได้ : บ้านขนาดกลางทั่วๆไปจะใช้ไฟฟ้าเดือนละ 1,000 - 2,300 หน่วย คิดเป็นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.20 - 4.50 บาทหรืออาจจะ 4.60 บาทถ้าใช้ไฟมากๆ หรือเดือนละ 4,000 - 10,000 บาท ดังนั้นการติด Solar Rooftop แบบ On Grid จะต้องคำนึงถึงการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันว่ามีมากเท่าไร เพราะถ้าใช้ไฟไม่หมดก็ต้องขายคืนเข้าระบบของการไฟฟ้าที่รับซื้อในราคาหน่วยละ 1.68 บาท หรือถ้าหมดโครงการหรือหมดระยะเวลาที่รับซื้อก็จะไม่มีรายได้ส่วนนี้กลับมา จำนวนเงินที่จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ หากใช้ไฟที่ผลิตได้หมด เท่ากับ 12,000 x 4.60 = 55,200 บาทต่อปีหรือ 4.600 บาทต่อเดือน แต่ถ้าสมมติว่าใช้ไฟที่ผลิตได้ 90% และขายคืนเข้าระบบ 10% ดังนั้นจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 12,000 x 0.9 x 4.6 + 12,000 x 0.1 x 2.20 = 47,040 บาทต่อปีหรือ 3,920 บาทต่อเดือน ![]() 2.3 ระยะเวลาที่จะคุ้มการลงทุน : การติดตั้งระบบ Solar Rooftop ขนาดประมาณ 10 kW ที่ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี ติดตั้งโดยผู้ชำนาญการ มีวิศวกรควบคุม จะใช้เงินลงทุนประมาณ 350,000 ถึง 400,000 บาท ดังนั้น ระยะเวลาที่จะคุ้มทุนอยู่ในราว 7.4 - 8.5 ปี ![]() หมายเหตุ : ในปัจจุบัน (ธ.ค. 2562) มีบางรายขายและรับติดตั้งระบบ On Grid Solar Rooftop 10 kW 3-Phase ในราคา 252,000 บาท ไม่รวมค่าติดตั้ง ซึ่งถ้ารวมแล้ว 300,000 บาท ก็จะคุ้มการลงทุนในเวลา 6 ปี (ราคาการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้คือแผง Solar Panels และ Solar Inverter) ![]() |
||
3.
การติดตั้งแผง
Solar Panels![]() การติดตั้งทำโดยใช้แผง Solar Panel ขนาด 360 W จำนวน 27 แผงจะได้กำลังผลิตสูงสุด 9.72 kWp วางแผงเรียงกันเป็น 3 แถวๆละ 9 แผง ตามรูปที่ 1 และเนื่องจาก Solar Inverter ที่ใช้แบ่งการต่อไฟจาก Solar Panels เป็น 2 ชุด ดังนั้นจึงต่อแผง Solar Panels แบบอนุกรมกัน (Series) ชุดที่ 1 เรียกว่า Array 1 มี 14 แผง และชุดที่ 2 เรียก Array 2 มี 13 แผง ซึ่งแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่ได้จาก Array 1 จะเท่ากับ 36 x 14 หรือ 504 V ![]() |
||
|
||
|
||
4.
การต่อระบบไฟฟ้า![]() รูปที่ 3 แสดงการติดตั้ง Panel Boards ด้านไฟฟ้ากระแสตรง Solar Inverter และด้านไฟฟ้ากระแสสลับดังนี้คือ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Solar Panels ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 จะถูกส่งเข้าไปยัง DC Panel Board ซึ่งมีอุปกรณ์ Circuit Breaker อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าและ Surge จากนั้นไฟฟ้าจะเข้าไปยัง Solar Inverter ที่แรงดันไฟฟ้าประมาณ 400 - 520 V ซึ่ง Inverter จะทำการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบ 3 เฟส แรงดันไฟฟ้า 220/380 หรืออาจจะ 230/400 V ความถี่ 50 Hz เพื่อเชื่อมต่อหรือ Synchronize เข้ากับระบบของการไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ![]() |
||
|
||
|
||
5.
Solar Inverter
แบบ
3 Phase 10 kW![]() การติดตั้งระบบ Solar Rooftop ที่นำเสนอนี้ ใช้ Solar Inverter ของ ABB แบบ 3 Phase ขนาด 10 kW โดยรองรับ DC Input ได้ 2 ชุดๆละ 5 kW ที่แรงดันไฟฟ้า 500 V (รูปที่ 5) และจ่ายไฟฟ้าออกในระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 Phase ที่แรงดันไฟฟ้า 230/400 V เมื่อมีไฟเลี้ยงมาจากระบบของการไฟฟ้า เครื่องจะทำการ Synchronize เพื่อเชื่อมโยงไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้ากับระบบโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับลง เครื่องก็จะตัดการทำงาน Solar Inverter ดังกล่าวมีหน้าจอ LCD แสดงค่าต่างๆได้ ตามตัวอย่างในรูปที่ 6 ![]() |
||
|
||
|
||
6.
สถิติการผลิตไฟฟ้าจริงจากระบบ
Solar Rooftop![]() ระบบ Solar Rooftop ที่นำมาเสนอนี้ได้ติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 และเริ่มใช้งานจริง จากสถิติการผลิตในระยะเวลา 5 วันแรกผลิตไฟฟ้าได้ 215 kWh หรือวันละ 43 kWh ซึ่งคาดว่าจะใกล้เคียงกับการคำนวณในข้อ 2.1 ![]() 7. การวิเคราะห์ Energy Balance ![]() Solar Inverter ขนาด 5 -10 kW โดยทั่วๆไปจะมีระบบ Wi Fi สำหรับการ Monitoring ข้อมูลการผลิตไฟฟ้า เช่น กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า แรงดันและกระแสไฟฟ้า ทางด้านการผลิตและสถิติต่างๆ เช่น พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อวัน ต่อเดือน เป็นต้น โดยสามารถเปิดดูได้ทางเครื่องโทรศัพท์มือถือ สำหรับด้านการใช้นั้นสามารถติดตั้ง Energy Meter แบบที่มีระบบ Wi Fi เพิ่มขึ้นเพื่อเช็คการใช้ไฟฟ้าได้ถ้าประสงค์จะวิเคราะห์การใช้งาน ตามรูปที่ 7 E1 คือมิเตอร์ของการไฟฟ้าซึ่งเป็นแบบ Two Ways เพื่อคิดจำนวนหน่วยขาย จำนวนหน่วยซื้อแล้วคำนวณค่าไฟฟ้าแบบ Net Billing ส่วน E2 เป็น Energy Meter ขนาดเล็กๆที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดตั้งขึ้นเองได้โดยวัดเฟสละ 1 มิเตอร์ เช่นเดียวกับ E 3 (ถ้า Solar Inverter สามารถให้ค่าพลังงานไฟฟ้าส่งออกได้ ก็ไม่ต้องติดมิเตอร์ E3) และจะต้องเช็คค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เพราะมิเตอร์ส่วนมากวัดกระแสไฟฟ้าได้ 15 A ถ้ากระแสไฟฟ้ามากกว่านี้จะต้องใช้แบบที่มี Current Transformer ต่อพ่วง หรือใช้ 3 Phase Wi Fi Energy Meter ซึ่งใช้ได้กับกระแสสูงถึง 60 A ![]() |
||
|
||
|
||
หมายเหตุ 1. บทความนี้เป็นการเผยแพร่และแบ่งปันประสบการณ์ ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้ |
จากวันที่ 20 ธ.ค. 2562
ปรับปรุงล่าสุด : 25 ก.พ.
2564