1. Introduction

ในบ้านสมัยใหม่
เรามีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย
เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ พัดลม เตาไมโครเวฟ
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กาต้มน้ำร้อน เครื่องซักผ้า เตารีด เป็นต้น
นอกจากนั้น
ยังมีการออกแบบติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างแบบต่างๆเพื่อความสะดวกในการใช้งานและความสวยงาม
ซึ่งรวมแล้วเราต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากในแต่ละเดือน
ดังจะเห็นได้จากบิลค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นจึงควรหาทางประหยัดการใช้ไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด
บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง
ซึ่งได้พยายามปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเรื่อยมาเพื่อการประหยัดพลังงาน
2.
การใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงาน

2.1 เครื่องปรับอากาศ
(Air Conditioner)

เครื่องปรับอากาศกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้าน
โดยเฉพาะสำหรับห้องนอน เครื่องปรับอากาศอาจจะมีอายุการใช้งานนานถึง
20 ปี ถ้ามีการดูแลและเปลี่ยนชิ้นส่วน
อุปกรณ์ มีการบำรุงรักษา คือการทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศบ่อยๆ
ในส่วนที่ทำเองได้ เช่นถอดออกมาดูดฝุ่น และล้าง
การล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศทั้งหมด
จำเป็นจะต้องให้ร้านแอร์ที่มีช่างชำนาญการมาทำให้
ซึ่งเขาจะถอดชิ้นส่วนออกมาทำความสะอาด ล้าง ทั้งส่วน
Blower และ
Compressor รวมทั้งการตรวจเช็คน้ำยาแอร์ด้วย
การทำความสะอาดใหญ่ จะช่วยให้มีการระบายความร้อนได้ดี
และประหยัดการใช้ไฟฟ้าขึ้น แต่ปัญหาก็คือ
ในปัจจุบันร้านแอร์คิดค่าบริการดังกล่าวครั้งละ
600 - 800 บาทต่อเครื่อง ดังนั้น
คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยล้างแอร์ตามกำหนด
แต่จะใช้ไปเรื่อยๆจนกว่าแอร์จะไม่ค่อยเย็น จึงจะตามช่างมา
การใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดไฟฟ้า ควรทำดังนี้
1)
ตรวจเช็ค
ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเองบ่อยๆและให้ช่างมาล้างแอร์ทุกๆ
6 เดือน

2)
เปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อจำเป็น
ถ้าอากาศไม่ร้อนมากควรใช้พัดลม หรือใช้ร่วมกัน เช่น
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25 - 27
องศา C และใช้พัดลมช่วยกระจายความเย็น

3)
ปิดประตู หน้าต่างห้องให้มิดชิด
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำความเย็นในขอบเขตที่จำกัด
(Cooling Volume) เมื่อออกจากห้อง
อย่าเปิดประตูอ้าไว้ หรือถ้ามีคนทำอย่างนั้นบ่อยๆ ก็ควรติดตั้ง
Door Closer และถ้าไม่มีคนอยู่ในห้อง หรือออกไปนานๆ เช่น
30 นาที ควรปิดเครื่องปรับอากาศ

4) การใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
มีทั้งส่วนคอมเพรสเซอร์ และส่วนพัดลม ดังนั้น
ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเร่งพัดลมแรงสุด
ควรใช้ความเร็วลมปานกลาง หรือต่ำ
ได้ก็จะยิ่งประหยัด

5) ห้องที่มีหน้าต่างกระจกมาก
หรือรับแสงแดดตอนบ่าย ควรติดตั้งม่าน 2
ชั้น หรือติดฟิลม์กันความร้อน(ซึ่งแพง) และอาจต้องปิดม่านบางส่วน
เพื่อลดรังสีความร้อนที่แผ่เข้ามาในห้อง
ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก และใช้ไฟฟ้ามาก

6) ตั้งรีโมทคอนโทรลสำหรับเครื่องปรับอากาศห้องนอน
ให้ปิดเครื่องก่อนตื่นนอนสักระยะหนึ่ง เช่น ถ้าตื่นนอน 6
โมงเช้า ให้ปิดแอร์เวลา 5.30
น.
ก็จะประหยัดไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง
อ่านรายละเอียด คลิก

7) เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่
เป็นรุ่นที่ประหยัดไฟเบอร์ 5
หรือใช้แบบ
Inverter แต่ต้องลงทุนสูง


8)
ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดไฟสำหรับเครื่องปรับอากาศ
รุ่นเก่า เช่น
ใช้
Airconmiser


รูปที่
1
เครื่องปรับอากาศติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน |
2.2
ไฟแสงสว่าง.หลอดไฟฟ้า.(Light Bulb)

ในปัจจุบันหลอดไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด
คือหลอดประเภท LED (Light Emitting Diode)ซึ่งกำลังเข้ามาแทนที่หลอดไฟอื่นๆ
ดังนั้น เราควรประหยัดพลังงานในการใช้ไฟแสงสว่าง ดังนี้

1) พยายามเลิกใช้หลอดไฟใส้
แบบ Tungsten
Filament เช่น ขนาด 25, 40, 60,
100 วัตต์ โดยเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED
ขนาด 3,4, 5,6,7 และ
9 วัตต์ แทน
ซึ่งจะประหยัดไฟได้มาก
และใช้งานได้นานกว่ามาก

2) สำหรับหลอดไฟประหยัดพลังงาน แบบหลอดตะเกียบและหลอดฟลูออเรสเซนต์
นั้น ก็ยังกินไฟมากกว่าหลอด LED ประมาณ
2 เท่า ดังนั้น
ควรเปลี่ยนมาใช้หลอด LED แทน


รูปที่
2
หลอดไฟ LED ขนาด
4 และ 6
วัตต์ |
3) ควรเลิกใช้หลอด
Downlight
ทั้งแบบ 12 และ 220
โวลท์ ที่เป็นแบบ Halogen กินไฟ
50 วัตต์ โดยเปลี่ยนมาใช้หลอด
Downlight LED ขนาดเพียง
3 - 4 วัตต์ ก็ให้ความสว่างเท่าๆกัน
มีทั้ง 12 และ 220
โวลท์ขาย มีทั้งสีขาว (White)
และสีออกเหลืองๆ (Warm)
ใช้แทนหลอดเดิมได้ทันที
4) สามารถเปลี่ยนไฟเพดาน
ฟลูออเรสเซนต์กลม ขนาด 32 วัตต์
ซึ่งใช้บัลลาสต์แบบแกนเหล็ก หรือแบบ Electronic
Ballast รวมแล้วกินไฟประมาณ 40
วัตต์ มาใช้ไฟแบบ LED Circular ขนาด
18 - 20 วัตต์ได้ทำให้ประหยัดไฟไปได้ดวงละ
40 -20 = 20 วัตต์ หรือประหยัดถึง
50%



รูปที่
3
หลอดไฟ LED Circular ขนาด
20 วัตต์
 |
5)
ใช้
หลอด
LED Filament
แบบที่หรี่ไฟได้ ขนาด 6
วัตต์ สำหรับไฟ Chandelier
แทนการใช้หลอด Tungsten Candle
หลอดละ 40 วัตต์
ช่วยให้ประหยัดไฟได้ถึง 87%


รูปที่
4
หลอดไฟ LED
Filament Candle สำหรับไฟ
Chandelier |
6)
ใช้
Motion Sensor
Switch ตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อเปิด ปิด
ไฟฟ้า เช่น ใช้ตามทางเดิน บันได ห้องน้ำ บริเวณ
Pantry เป็นการประหยัดการใช้ไฟฟ้า
อ่านรายละเอียด คลิก

7)
ไฟฟ้าที่ต้องเปิดไว้ทั้งคืน เช่นไฟหน้าบ้าน ไฟโรงรถ
ไฟข้างบ้าน ควรใช้หลอดไฟแบบ LED
ที่มีวัตต์ต่ำ
และบางดวงอาจหาแบบที่ใช้กับเครื่องหรี่ไฟได้ด้วย
เพื่อไม่ให้แสงสว่างจ้าเกินไป การหรี่ไฟลง
ก็จะยิ่งช่วยประหยัดพลังงานได้อีกส่วนหนึ่ง
|
เปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าของหลอดไฟแบบต่างๆ |
LED
 |
|
Fluorescent
 |
|
Incandescent
 |
3 Watt |
= |
7 Watt |
= |
35 Watt |
5 Watt |
= |
11 Watt |
= |
50 Watt |
7 Watt |
= |
15 Watt |
= |
70 watt |
9 Watt |
= |
19 Watt |
= |
90 Watt |
12 Watt |
= |
25 Watt |
= |
120 Watt |
15 Watt |
= |
31 Watt |
= |
150 Watt |
18 Watt |
= |
36 Watt |
= |
180 Watt |
|
|
|