Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications
ประวัตินามสกุล
ประวัติพระยาประมูล
ธนรักษ์
ประวัติส่วนตัว
การศึกษา
การปฎิบัติงานและดูงาน
ครอบครัว
กลับไปหน้าแรก

  


2. การเรียนที่ Oregon State University (OSU)
 

 
ผมคงจะเล่าสั้นๆ เพราะความจริงมีเรื่องที่เขียนได้มาก เมื่อไปถึง
อเมริกา สมัยนั้น ปี 2506 เราต้องไปที่ Washington DC ก่อนเพื่อ
Orientation เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และได้เที่ยวบ้าง แต่แม้ว่าผมจะ
สอบภาษาอังกฤษที่ เอยูเอ ได้แกรมมาร์ 97% แต่เรื่องการฟังและพูด
คนไทยที่ไปใหม่จะมีปัญหามาก ถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ๆ อย่าง San
Francisco จะฟังออกเป็นส่วนใหญ่ แต่เวลาเราพูด ฝรั่งฟังไม่ค่อย
รู้เรื่อง จาก
Washington DC ก็บินไปที่ Portland Oregon และ
ต่อเครื่องบินเล็กไปลงที่เมือง Corvallis ที่ตั้งของ Oregon State
University ซึ่งเป็นเมืองมหาวิทยาลัยโดยแท้ จากการนั่งเครื่องบิน
ลำใหญ่ๆ พอนั่งลำเล็กไปลงที่สนามบิน
Corvallis เป็นสนามบินเล็ก
ลงจากเครื่องบิน ก็พบนักเรียนไทยที่นั่นไปรอรับ พวกเขาช่วยเหลือดี
2 - 3 วันแรก ต้องพักที่โรงแรมใน Downtown ในตอนนั้น หอพัก
นักศึกษาถูกจองไว้เต็มหมดแล้ว จึงต้องหาบ้านพักแบบง่ายๆที่ไม่
ต้องทำอาหารเอง ก็ได้
Boarding House ตั้งอยู่ Off Campus
คืออยู่นอก
Campus แต่ค่าเช่าถูกและมีอาหารให้รับประทานสัปดาห์
ละ
20 มื้อ (ยกเว้นวันอาทิตย์มื้อเย็น ต้องไปหารับประทานเอาเอง)
 
OldPhoto008_350.jpg (29768 bytes)
Finnell's Boarding House
สถานที่พักในช่วง 6 เดือนแรก ของการเรียน
ที่
Oregon State University  ห้องพัก
อยู่ใต้ดิน ตรงหน้าต่างเล็กๆที่ชี้ ห้องพักมีขนาด
เล็ก อยู่ได้
2 คน โดยมีเตียงไม้แบบ 2 ชั้น เพื่อ
ประหยัดที่ และมีโต๊ะอ่านหนังสือให้
2 ตัว
การใช้ห้องน้ำ เป็นแบบใช้ร่วมกัน ไม่มีแยก
เป็นห้องๆ และห้องอาบน้ำก็ใช้ร่วมกัน

Boarding House ที่พักนี้ อยู่ไกลจากตึกเรียนมาก ต้องเดินใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีถนนให้เดินเป็น
ถนนหลักอยู่
2 สาย ส่วนมากจะใช้ถนน SW Jefferson Way และก็มีถนนตัดทะแยง สั้นลงหน่อย แต่ต้องขึ้นเนิน  ที่ Boarding House มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็น Freshy และมีเรา 2 คน ที่เป็นคนต่างชาติ และเรียนปริญญาโท และนอกจากนั้นก็มีพวกคนทำงานที่มาเช่าอยู่อีก 2-3 คน รวมแล้วอยู่กันประมาณ 40 - 45 คน เวลาเช้า รับประทานอาหารทะยอยๆกันได้ในเวลาที่กำหนด แต่มื้อกลางวัน และมื้อเย็น จะต้องมานั่งโต๊ะพร้อมกัน มีการสวดขอบคุณพระเจ้า หรือบางครั้งเป็นการสวดที่ต้องการขอกำลังใจ แล้วจึงเริ่มรับประทานอาหารพร้อมๆกัน นับว่าเป็นระเบียบดี  ผู้คนที่นี่ Friendly ดีมาก แต่พูดสำเนียงแปล่งๆ ต่างจากสำเนียงที่พูดกันในเมืองใหญ่ๆมาก บางครั้งฟังไม่ออก

 แผนที่ OSU Campus


View OSU Campus in a larger map

การเริ่มต้นชีวิตนักเรียนในต่างแดน ตอนแรกดูเหมือนจะโก้เก๋ดี แต่พอเริ่มจริงๆ ความยุ่งยากเกิดทันทีที่
ต้องไปหา Advisor เพื่อทำโปรแกรมการเรียน ขนาดมีนักเรียนคนไทยที่นั่นช่วย แต่ฝรั่งเขามีระบบที่ดีและ
ยึดปฎิบัติ ผมได้แจ้ง Advisor ว่า ได้เรียนหลักสูตรปริญญาโท จากบัณฑิตวิทยาลัย ที่จุฬา ได้มา 48 เครดิต
และเหลือเพียงวิทยานิพนธ์ ก็จะจบปริญญาโท และก็ได้ A มามาก จะขอโอนที่ได้ A บ้างได้หรือไม่ (เพื่อจะ
ได้เรียนน้อยลง) Advisor ตอบว่า ถ้ายูจะทำดอกเตอร์ต่อ ก็จะโอนให้ แต่ผมได้ทุนแค่ทำปริญญาโท ก็เลย
ต้องยอมเรียนทั้งหมด ตามที่ท่าน  Advisor กำหนดให้

ระบบการเรียนที่ OSU เป็นระบบ Quarter คือปีหนึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 เทอม เริ่มจาก Fall, Winter,
Spring และ Summer หลักสูตรก็จะสอนต่อเนื่องกันไป ดังนั้น ถ้าใครไม่เริ่มเรียนจาก Fall Term ก็จะ
ลำบากมากทีเดียว และยิ่งกว่านั้น  สำหรับ ปริญญาโท ยังมีการแบ่งเป็นวิชา Major และ Minor และในวิชา
Minor ยังแบ่งเป็น  Split Minor อีก เช่นวิชา Major ของผมคือ Electrical Engineering และวิชา Minors
คือ Mathematics และ Statistics ซึ่งเขาบังคับอีกว่า แต่ละหมวด จะต้องสอบให้ได้ B Average จึงจะผ่าน  
ส่วนวิทยานิพนธ์นั้น ก็ต้องทำ เลือกทำเล็ก ก็ 6 เครดิต ทำใหญ่ก็ 9 เครดิต  นับว่ายุ่งพอควร แต่มันเป็นระบบ
ของเขา ที่เราต้องปฎิบัติตาม ในการเลือกวิชาเรียนนั้นส่วนใหญ่จะเลือกกัน เทอมละประมาณ 9 - 12 เครดิต
ซึ่งผมก็ทำตามนั้น แต่ด้วยความจำเป็นทางด้านผู้ให้ทุน ที่แจ้งว่าจะให้ทุนแค่ 1 ปี ถ้าไม่จบ ขออยู่ต่อได้อีกไม่
เกิน
1
ปี แต่ต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอง ผมจึงต้องทำถึง 15 เครดิต ในเเทอมที่ 3 ซึ่งทำให้ไม่เป็นอันกิน
อันนอน หรือต้องนอนตีสองแทบทุกวัน และเวลาที่คิดทำวิทยานิพนธ์ ส่วนใหญ่ก็หลังสองยามแล้

 
การศึกษาวิชา Control System มีการทำ Lab
เพื่อทดลอง โดยใช้ Analog Computer ศึกษา
เกี่ยวกับระบบต่างๆ เช่น Feedback Control
อุปกรณ์ที่มี 2 ชุด ต้องรอคิวการใช้ ถ้าพลาดการ
ทดลองไม่ได้ผล ก็อาจทำ Assignment ส่งอาจารย์
ไม่ทัน เป็นผลต่อ Grade ที่จะได้ การทดลองใน Lab
นี้ ผมทำได้ดีมาก เพราะมีพื้นฐานมาจากวิชาที่เรียน ใน
หลักสูตรปริญญาโท ที่จากจุฬาฯ ไปก่อน

การเรียนปริญญาโทที่ OSU นั้น ในระยะ 6 เดือนแรก ลำบากมากทีเดียว เพราะฟังภาษาได้ไม่ดี จดก็ไม่ทัน
บางครั้งอาจารย์สั่งงานมา เรายังไม่รู้เรื่องก็มี ระบบการเรียน การสอน ก็แตกต่างจากที่จุฬาฯ คอมพิวเตอร์
ก็ไม่เคยใช้มาก่อน
ต้องไปขอเข้าเรียนในบางวิชา แบบ Audit ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้น และบางวิชา เรียน
เป็นวิชา
Minor แต่ต้องเข้าไปเรียนร่วมกับนักศึกษาปี 4 ที่เรียน Major Math เป็นต้น ดังนั้น การแข่งกับเขา
จึงทำได้ยาก เรียกว่าเสียเปรียบมาก เทอมแรกผ่านไปด้วยความยากลำบาก เกรดที่ได้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย
เท่านั้น และจำเป็นจะต้องเร่งทำเกรดให้สูงขึ้นในเทอมที่
2 ซึ่งก็ยิ่งทำให้เครียดมากขึ้น และต้องทำงานหนัก
ยิ่งขึ้นอีก ผลการศึกษาในเทอมที่
2 ออกมาดี คือได้เกรด A หมดทุกวิชา หลังจากนั้น เริ่มคล่องขึ้น ฟังและพูด
ได้ดีขึ้น การเรียนวิชาที่
Advisor กำหนดในแผนการเรียน เป็นไปอย่างราบรื่น แต่ก็จำเป็นต้องเร่งการจัดทำ
วิทยานิพนธ์ ซึ่งลงทะเบียนไว้
3 เทอมๆละ 3 เครดิต เรื่องวิทยานิพนธ์นี้ ก่อให้เกิดความเครียดอย่างหนัก
เพราะจะต้องคิดค้นวิธีที่ไม่ซ้ำกับใคร และต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากสมัยนั้น คอมพิวเตอร์
เมนเฟรม มีหน่วยความจำเล็กมาก
64 KB (อย่าหัวเราะ เพราะที่จุฬาฯ ก็กำลังจะติดตั้งเครื่อง IBM 1620
มีหน่วยความจำเพียง
32 KB) ดังนั้น การจะเขียนโปรแกรมใหญ่ๆ จำเป็นจะต้องใช้ Machine Language
หรือดีขึ้นมาหน่อย ก็คือใช้ภาษา
Symbolic Language Programming System (SPS) แต่ก็ต้องรู้
Machine Language ด้วย จึงจะทำได้ เป็นเหตุให้ต้องไป Audit วิชา Programming เพิ่มขึ้นอีก

ด้วยความจำเป็นและความเร่งรัดที่มีอยู่ หลังจากผ่านไป
6 เดือน ผมก็ตัดสินใจบอกกับรุ่นพี่ที่ไปเรียนด้วยกัน
ซึ่งอยู่
Boarding House เดียวกัน นอนห้องเดียวกัน ว่า ผมจะย้ายเข้าไปอยู่หอพัก เพราะอยู่ใกล้ตึกเรียน
ใกล้ห้องสมุดและใกล้
Canteen แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นมาก และต้องการอยู่คนเดียว ไม่ Share ห้อง
ซึ่งจะทำให้ผมสามารถ
Concentrate กับการเรียนและการทำวิทยานิพนธ์ได้  และยิ่งกว่านั้น ผมไม่ได้บอก
ว่า การอยู่ด้วยกันห้องละ
2 คนนั้น ก็พูดคุยกันด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษก็จะไม่ดีขึ้น หลังจากคุยแล้วจากนั้น
ผมก็ย้ายเข้าไปอยู่หอพักชาย เริ่มจากเทอมที่
3 ซึ่งก็มีผลกระทบตามมา คือรุ่นพี่คนนั้น เขาไม่ค่อยพอใจเพราะ
ถ้าอยู่ด้วยกันเขาจะให้ผมคอยติวให้เป็นประจำ ขนาดต้องติดกระดานในห้องนอน เพื่อเขียน แบบสอนหนังสือ
จนไม่ได้ช่วยตัวเองให้เพียงพอ และผมก็ได้ช่วยมานานแล้ว การบ้านก็ให้ลอก จนผมเองเหลือเวลาเรียนและ
ค้นตำราน้อยลง แต่เนื่องจากเขามีเงินมากกว่า อยู่เรียนต่อเองก็ได้ สำหรับผมมีทุนน้อย จำเป็นต้องรีบเรียน
ให้จบเร็วที่สุด จึงต้องตัดสินใจดังกล่าว และบอกตามตรงว่า ฝรั่งเขาคิดอย่างไร คือถ้าเขาเห็นว่านักศึกษาคน
ใด มีศักยภาพสูง เขาก็จะสนับสนุน เช่น วิทยานิพนธ์ ก็อาจจะให้ทำที่ยากหน่อยคืออยากให้จบแล้วเก่งไปเลย
แต่ถ้าคนใด ท่าทางจะทำไม่ไหว เขาก็จะดูที่พอเหมาะกับขีดความสามารถ และสำหรับการเรียนที่อเมริกานั้น
เขาถือว่าทุกคนต้องช่วยตัวเอง ทำเอง ใช้ความคิดของตัวเองให้มากที่สุด การทำ
Lab รือ Term Paper
็ต้องต่างคนต่างทำ ไม่มีการทำร่วมกันเป็น Group บบที่เราเคยทำในสมัยเรียนที่จุฬาฯ  การเขียนรายงาน
หรือเขียนข้อสอบ ก็ให้สั้นและได้ใจความที่สุด


หอพัก Hawley Hall ที่อยู่ตอน
ฤดูร้อน เป็นหอใหม่ ทันสมัยมาก
ในบริเวณเดียวกัน มีหอพัก
4 หอ
ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นหอชาย
2 หอ และหอหญิง 2 หอ ตรงกลาง
เป็นสนามหญ้า และลงชั้นใต้ดิน
เชื่อมไปยัง
Canteen ซึ่งใช้ร่วม
กันทั้ง
4 หอ ตอนรับประทานอาหาร
จะสนุก เพราะได้พบนักศึกษาทีเดียว
จาก
4 หอพัก

 

การแยกมาอยู่หอ อยู่คนเดียว ทำให้สามารถเรียนได้ดีขึ้น ผมนั่งคิดหา Solution และทำวิทยานิพนธ์อยู่ดึกๆ
คือมีเวลาให้กับวิทยานิพนธ์จาก
2 ยาม เป็นต้นไป ถึง ตี 2 หรือบางวันก็ ตี 2 ครึ่ง  ที่หอชาย  ใน Quarter
ที่ 4 นั้น จะมีไฟเปิดอยู่ประมาณ 2 - 3 ห้องเท่านั้น ในตอน ตี 2 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือห้องของผม  และด้วยสาเหตุ
ที่วิทยานิพนธ์ ก็ยังทำไม่ออก คือยังไม่
Work เวลาที่เขาให้ทุนก็ใกล้จะหมดลง จึงได้ไปปรึกษากับ Adviser
ว่าจะทำอย่างไรดี Advisor ก็ใจดีมาก Head EE Department ก็ใจดี บอกว่าให้ไปหาเลขา จ่ายเงิน
1 เหรียญ เป็นค่ากุญแจ 2 ดอก คือ ดอกที่หนึ่ง ไขเข้าตึกวิศวไฟฟ้า Dearborn Hall และดอกที่ 2 ไขเข้า
ห้องเครื่องคอมพิวเตอร์
IBM Mainframe 1620 และให้ใช้คอมพิวเตอร์ใน Account ของ Advisor ได้
จาก
18.00 - 20.00 . ทุกวัน  ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผมมีเวลาที่จะเข้าไปขลุกอยู่กับเจ้า Mainframe ทุกวัน
โดยต้องเรียนรู้วิธี
Operate เครื่องด้วยตนเอง เรียกว่า ตัวคนเดียว ต้องทำให้ได้  บางวัน ก็จะมีตำรวจของ
มหาวิทยาลัยเดินผ่านมาตรวจ แต่เราไม่ได้ทำงานหลัง
4 ทุ่ม ไม่ต้องมีบัตรอนุญาต ตำรวจก็ Friendly มาก

 
ภาพซ้าย ถ่ายขณะกลับจาก
การไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
IBM 1620 จะเห็นว่าหอบ
กล่องใส่ Punch Cards
เอาไว้ (ถ่ายเมื่อ 20 ธ.ค. 2506)

ส่วนภาพทางขวา ถ่าย ณ บริเวน
ด้านหลังหอพัก

ในเทอมสุดท้าย วิชาต่างๆที่เรียนครบหมดแล้ว และก็ได้เกรด A มาหมดทุกวิชา แต่วิทยานิพนธ์ ก็ยังไม่
Work อยู่ดี  ตอนนั้นกลุ้มมาก ใช้เวลาคิดแต่ว่าทำไมโปรแกรมที่เขียน มันจึงไม่ Work และมันต้องมีอะไร
ผิดพลาด ผมมีเพื่อนฝรั่งเรียนวิศวะไฟฟ้า ปริญญาโท อยู่ห้องใกล้กัน เขาก็มีปัญหาคล้ายๆกัน มักจะพบกัน

เวลารับประทานอาหารเย็นที่หอ ต่างก็นั่งเหม่อลอยเหมือนๆกัน จนเย็นวันหนึ่ง ขณะที่รับประทานอาหารเย็น
อยู่ ความคิดก็ผุดขึ้นมาว่า ที่โปรแกรมเราไม่
Work น่าจะมีข้อผิดพลาดอยู่ตรงจุดใด ผมจึงเลิกรับประทาน
อาหาร รีบกลับไปห้องพักจัดประเป๋าและเอกสารแทบจะวิ่งตรงไปที่ตึก
Dearborn Hall เข้าห้องเปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ทำการแก้โปรแกรม แล้วสั่ง
Run ก็ปรากฎว่า โปรแกรมทำงานได้มากขึ้น แต่ยังไปติดอยู่อีก
แห่งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้ รู้แล้วว่าจะต้องแก้ตรงไหน เมื่อแก้แล้วสั่ง
Run ใหม่ คราวนี้โปรแกรมทำงานได้อย่าง
สมบูรณ์ ก็ดีใจมาก เพราะหมายถึงว่า จบแน่แล้ว จึงชวนเพื่อนๆมาฉลองเล็กๆกัน และยังไม่ลืมวันนั้นจน
เวลาผ่านไปถึง
57 ปีแล้ว !

การเตรียมตัวสอบ Comphresive Examination (การสอบประมวลความรู้และวิทยานิพนธ์) Updated 28/6/2564)

เมื่อเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว ก็มีขั้นตอนคือ จ้างคนพิมพ์ตามมาตรฐานที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด จะมีติดประกาศ Bulletin Board รับจ้างพิมพ์ทำต้นฉบับและ Copy ตามจำนวนที่ต้องการโดยมีอุปกรณ์ทันสมัย พิมพ์ออกมาคมชัดมาก สำหรับรูปภาพประกอบนั้น ผมวาดเองทั้งหมด หลังจากได้ต้นฉบับวิทยานิพนธ์แล้ว ก็ต้องส่งไปให้ Advisor ทำการตรวจ สำหรับของผม ทั้ง Advisor และ Head EE Department ร่วมกันตรวจแก้ และส่วนที่แก้ก็คือไวยากรณ์ และต้องส่งไปให้ทาง Librarian ของหอสมุดกลางทำการตรวจด้วยว่าเรามีการใช้หนังสือหรือเอกสารอ้างอิงอะไรบ้าง เขียนอ้างอิงถูกต้องตาม Format และมีเอกสารนั้นๆจริงหรือไม่ เมื่อแก้เสร็จแล้ว ก็ส่งไปให้คนพิมพ์ทำการแก้และทำต้นฉบับ Final พร้อม Copy เพื่อใช้สำหรับการเตรียมสอบ Comphresive Examination

การสอบ Comphresive Examination ซึ่งเป็นการสอบประมวลความรู้ในวิชาที่เรียนมาและสอบวิทยานิพนธ์รวมกัน จะต้องเชิญอาจารย์อย่างน้อย 3 ท่านมาเป็นกรรมการ ได้แก Head EE Department, Advisor และอาจารย์จากทางด้าน Minor Subject Study อีก 1 ท่าน ซึ่งผมก็ได้ไปเชิญท่านเอง จากนั้นเป็นการรอวันเข้าสอบ ซึ่งก็ต้องมีการเตรียมตัวเพราะกรรมการจะถามถึงวิชาที่เรียนมาส่วนหนึ่งและถามเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ แต่จะถามไม่มากและไปเน้นที่วิทยานิพนธ์  ในการเตรียมตัวนั้น ผมได้ไปที่เมือง Eugene ไม่ไกลจาก Corvallis นัก และซื้อ Suit ใหม่มา 1 ชุด ใส่ Suit ซ้อมการ Present ในห้องที่หอพักอยู่หลายรอบ จนคิดว่ามีความมั่นใจมากพอควร แล้วก็ถึงวันสอบ ซึ่งการถามวิชาที่เรียนมาแล้วนั้น ตอบได้สบายๆ จากนั้น เขาให้ Present วิทยานิพนธ์ แล้วถามคำถามต่างๆ ส่วนมากมาจาก Head EE Department ซึ่งก็ตอบได้หมด เมื่อสอบแล้ว Advisor บอกให้ผมออกไปรอนอกห้อง ไปดื่มน้ำได้ ระหว่างรอสักพัก Head EE Department ก็เดินออกมาเป็นคนแรก แล้วยื่นมือมาจับ พูดว่า Congratulation ตามด้วยอาจารย์อีก 2 ท่าน ก็ถือว่าสอบผ่านและจบการศึกษา ... ภาพเหล่านี้ ยังติดฝังอยู่จนทุกวันนี้;
 


 



หอพัก
Weatherford Hall ผมอยู่ชั้น 4 ด้านขวามือ ตอนเทอมสปริง ที่ๆนั่งอยู่เป็นหลังคาของห้องอาหารซึ่งนักศึกษาชาย หญิง มาทานอาหารรวมกัน จาก 4 หอพัก

ภาพนี้ถ่ายเมื่อทำวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว



















 

เรื่องที่เขียนเล่ามานี้ ไม่ได้จะคุยว่าเรียนเร็ว แต่เพราะความจำเป็น และมีความบีบคั้นอย่างมาก เนื่องจาก
ยังไม่ทันครบกำหนดให้ทุน ก็มีจดหมายมาจากสำนักงาน AID ที่กรุง Washington DC แจ้งให้ผมเดินทาง
กลับไปรายงานตัว พร้อมทั้งส่งตั๋วเครื่องบินมาให้ด้วย ซึ่งเขาก็ทำเกินไป ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน ซึ่งผมได้
เขียนจดหมายมาถึงผู้บังคับบัญชาที่ทำงานแจ้งว่า ผมยังเรียนไม่จบ และก็ยังไม่ได้ไปดูงานตามที่ตกลงกัน
ทำไมรีบร้อนจะให้ผมกลับ ต่อมาเมื่อเรียนจบแล้ว ผมกลับมาประเทศไทย ก็ได้ไปแจ้ง แบบฟ้องไปกับผู้ที่
ให้ทุนอีกด้วย  ความบีบคั้นดังกล่าวทำให้ผมทำวิทยานิพนธ์เสร็จ พร้อมทั้งเรียนครบตามที่ Advisor กำหนด
ในภาคฤดูร้อน ซึ่งปกติไม่ค่อยมีคนเรียนเท่าไรนัก เพราะมันร้อน ห้องพักและชั้นเรียนไม่มีแอร์ เวลาดูหนังสือ
ต้องเปิดประตูห้องระบายลม ใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องมีพัดลมตัวโตเป่า CPU และผมก็ใช้ Mainframe จนมัน
ร้อนจัดเสียไปครั้งหนึ่ง  รวมเวลาที่อยู่ในเมือง Corvallis 11 เดือนเต็ม และก่อนอำลาจาก Corvallis ได้มี
นักเรียนไทยที่ไปใหม่ๆ มาขอคำแนะนำมากมาย ส่วนใหญ่มาขอลอกการบ้านต่างๆเอาไว้ก่อน และต่อมาได้
มีผู้สนใจไปศึกษาต่อที่ OSU มากขึ้นและเขาก็รับมากขึ้นด้วย เนื่องจากเกรดที่ผมทำไว้ดี เป็นตัวช่วยในการ
พิจารณารับคนไทย โดยเฉพาะที่จบจากจุฬาฯ

เมื่อตอนที่เรียนจบ ทางอาจารย์ก็ได้ถามว่าอยากจะเรียนต่อทำดอกเตอร์ไหม เพราะเรียนได้ดีแล้ว จะโอนเกรด A ที่ได้จากการเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัยให้ และให้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องเดิมขยายต่อออกไปอีก และทาง OSU ก็มีงานให้ทำด้วย เช่น เป็น Tutor หรือช่วยสอน แต่ด้วยสัญญาที่มีกับหน่วยงานและกับทาง AID เขาไม่ยอมให้อยู่ต่อ ดังนั้นผมจึงต้องเดินทางกลับ นับว่าได้พลาดโอกาศที่จะทำ Ph.D ไปตลอดกาล



เมื่อเรียนจบแล้ว ก็ได้เดินทางไปดูงานต่อที่เมือง San Francisco, Los Angeles และที่ Washington DC
อีก 2 เดือนเศษๆ ก็เดินทางกลับประเทศไทย (จะเขียนเล่าต่อไป)

หมายเหตุ : ในระหว่างดูงานกับ Southern California Edison ที่ Los Angeles นั้น ทางบริษัทได้ทาบทามให้ผมทำงานอยู่ที่นั่นเลย เพราะเรียนจบแล้วและทำเกรดได้ดี แถมยังมีบ้านให้อยู่ที่ Alhambra ด้วย แต่ด้วยภาระและสัญญาที่ทำไว้กับทางราชการ ผมจึงต้องเดินทางกลับประเทศไทย


ที่ Electrical Engineering Faculty ของ OSU ในขณะนั้น
คือปี 2506 มี Professor L.N.Stone เป็น Head Department
และผมมี Prof. J.F.Engle เป็น Advisor และเป็นอาจารย์สอนวิชา
Power System ซึ่งผมก็ได้ทำวิทยานิพนธ์กับท่านด้วย



Dearborn Hall ตึกคณะวิศวกรรมไฟฟ้า OSU

ครอบครัว The Engle (Prof. Engle เป็นอาจารย์ Advisor สอน Power System

ในบรรดาอาจารย์ที่ OSU ผมจะใกล้ชิดกับ Prof.

J.F. Engle และครอบครัวมาก ท่านจะคอยดูแลผม
และให้คำแนะนำจนผมเรียนจบแล้ว กลับไปทำงาน
จนย้ายไปอยู่ กฟผ.ก็ได้มีโอกาสเดินทางไปสหรัฐ
อเมริกาหลายครั้ง และก็ได้ติดต่อกับท่านโดยตลอด
และได้กลับไปเยี่ยม Prof.Engle และครอบครัว
ที่บ้านท่านที่ Campus ใน Corvallis, Oregon
ถึง 3 ครั้ง โดยภรรยาผมก็เดินทางไปด้วย
(Prof. Engle ได้เสียชีวิตไปหลายปีมาแล้ว)
OldPhoto040_350.jpg (28304 bytes)  

ภาพถ่ายที่บ้าน
Prof. Engle  ในการไปเยี่ยม ครั้งที่ 3
ทำให้ระลึกถึง ในขณะที่เรียนอยู่ ว่าต้องคอยนัด และไป
พบท่าน หลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อทำวิทยานิพนธ์เสร็จ
แล้ว ก็มีการตรวจแก้ภาษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ส่วนลูกๆ
ของท่านหลายคนรู้จักผมดี เพราะมีลูกสาวคนหนึ่ง
ทำงานพิเศษ เก็บเงินค่าอาหาร อยู่ที่
Canteen ของ
Memorial Union จะพบกับผมบ่อยๆ และคอยราย
งานอาจารย์ว่า พูดภาษาอังกฤษ เป็นอย่างไร แต่ตอน
หลังๆ ก็รายงานว่า พูดเก่งขึ้นแล้ว
 
การกลับไปเยี่ยม
Prof. Engle ครั้งที่ 3 นั้น ผมได้พา
ภรรยาไปด้วย อาจารย์ได้ไปรับที่สถานีรถ
Greyhound
Bus Terminal ที่ Corvallis ใน Trip นี้ ได้แวะไปที่
บ้านอาจารย์ ที่ตึกวิศวะไฟฟ้า
Dearborn Hall และก็ไป
รับประทานอาหารที่
Memorial Union รวมทั้งไปซื้อ
ของขวัญต่างๆที่ร้านของ
MU ด้วย พนักงานขาย ตื่นเต้น
มาก ที่พบศิษฐ์เก่ากลับมา และซื้อเสื้อ
OSU ฯลฯ ไปประมาณ
100 เหรียญ จากนั้น ได้ไปแวะชมศูนย์คอมพิวเตอร์ใหม่ และ
ตอนเย็นอาจารย์และภรรยา ได้ขับรถไปส่งที่เมือง
Portland
โดยแวะร้านอาหารที่อยู่ระหว่างทาง อาหารอร่อยมาก
     

 



การกลับไป
OSU ครั้งที่ 3 ภาพถ่าย ณ สนามหน้า
Memorial Union (MU)
OSU1_275.jpg (22228 bytes) ภาพ Campus ส่วนกลาง ของ Oregon State
University, Corvallis, Oregon จากภาพ
ถ่ายโดยดาวเทียม   นับเป็นเวลากว่า 57 ปี ที่เรียน
จบมา แต่ก็ยังไม่ลืมความยากลำบาก และความกดดัน
ที่มีในขณะนั้น เมื่อได้เห็นภาพ Campus ก็ทำให้
ยังจำวันเหล่านั้นได้ดี

คลิกที่ภาพ
หรือที่นี่ เพื่อดูภาพขยาย

 


ตั้งแต่วันที่ : 6 ก.พ.2545
ปรับปรุงล่าสุด :14 เม.. 2554, 28 มิ.. 2564,
6 .. 2566, 2 .. 2567, 30 .. 2567